image header web


Vision Mission Objective and Stratergy : VMOS


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ได้ศึกษาวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579 นโยบายรัฐบาล นโยบายรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการดำเนินงานของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผลวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร มากำหนดสาระสำคัญของแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการศึกษาเริ่มแรกของคนในชาติ ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร มีคุณภาพและมาตรฐาน นักเรียนได้รับการ พัฒนาตามศักยภาพมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นและการ ดำรงชีวิตในอนาคต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร จึงกำหนดองค์ประกอบนโยบาย เพื่อ พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด กำแพงเพชร (กศจ.กำแพงเพชร) ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้


วิสัยทัศน์

"ผู้เรียนมีความรู้ เป็นคนดี พัฒนาตนเองได้อย่างมีความสุข"


พันธกิจ

1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ตามศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการตามบริบท
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้มีความปลอดภัย
4. ส่งเสริมสถานศึกษาจัดการศึกษา เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค เสริมสร้างความมั่นคงลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เหมาะสมกับบริบท

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๓
2. ผู้เรียนได้รับโอกาลทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีคุณลักษณะอันฟังประสงค์
3. ผู้เรียน ครู บุคลกรทางการศึกษา และสถานศึกษามีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ (พันธกิจข้อ ๓)
4. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะ คุณลักษณะและจรรยาบรรณวิชาชีพและรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับบริบท

นโยบาย (Policy)

นโยบายที่ 1 นโยบายด้านความปลอดภัย
นโยบายที่ 2 นโยบายด้านโอกาส
นโยบายที่ 3 นโยบายด้านคุณภาพ
นโยบายที่ 4 นโยบายด้านประสิทธิภาพ

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

ค่านิยมองค์กร MASTER

M = Moral การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์
A = Accountability ความรับผิดชอบ
S = Save ประหยัด
T = Team การทำงานเป็นทีม
E = Efficiency ประสิทธิภาพ
R = Relationship สัมพันธ์ภาพ

คติพจน์

"ยิ้มแย้มแจ่มใส รักใคร่ปรองดอง สนองบริการ รวดเร็วประสาน พัฒนางานเป็นระบบ"



ทิศทางพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2565

นโยบายสำคัญ

1. สถานศึกษาปลอดภัย
2. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเข้มแข็ง ได้มาตรฐานทุกโรงเรียน
3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. พัฒนาระบบสารสนเทศ และ ICT
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ 4 สร้าง
- สร้างเด็กดีมีคุณธรรม ให้บ้านเมือง
- สร้างครูดี ให้ห้องเรียน
- สร้างผู้บริหารดี ให้โรงเรียน
- สร้างโรงเรียนดี ให้ชุมชน

จุดเน้นการพัฒนา

1. พัฒนาระบบการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
2. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเข้มแข็ง นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
3. นักเรียนเป็นคนดี มีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม เคารพรักในสถาบันหลักของชาติ
4. น้อมนำศาสตร์พระราชาในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน
5. ผู้เรียนมีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
6. ยกระดับผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงขึ้น
7. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะสู่มืออาชีพ
8. สถานศึกษานำนวัตกรรม เทคโนโลยี แพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้เพื่อการศึกษา
9. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล